วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 16

วันอังคาร  ที่ 18  กุมภาพันธ์  2557   

กิจกรรมการเรียนการสอน
  -อาจารย์ อธิบายแนวข้อสอบ
 - สร้างข้อตกลงในการสอบ

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 15

วันอังคาร  ที่ 11  กุมภาพันธ์  2557  


เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ LD
            1. การดูแลให้ความช่วยเหลือ
  >สร้างความภาคภูมิใจใจตนเอง
  >มองหาจุดดีจุดแข็งและให้คำชมอยู่เสมอ
  >  การเสริมแรงทางบวก
  >รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
  >วางแผนการจัดทำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกบการเรียนรู้ของเด็ก
  > สังเกตความสามารถและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
     IEP

            2. การรักษาด้วยยา      
     >Ritalin
     >Dexedrine
     >   Cylext
           
           หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ
    >  สศศ. สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ
    > มีหน้าที่ช่วยเหลือประสานงานและส่งตัวเด็ก
    >โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
    > ศูนย์การศึกษาพิเศษ  Early Intervention ย่อมาจาก EI
    >โรงเรียนเฉพาะความพิการ
    >สถาบันราชานุกูล

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 14

วันอังคาร  ที่ 4  กุมภาพันธ์  2557  

การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
Down's  syndrome
- รักษาตามอาการ
- แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
- ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
- เน้นการดูแลแบบองค์รวม

1. ด้านสุขภาพอนามัย
       บิดามารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก  ติดตามการรักษาเป็นระยะ

2. การส่งเสริมพัฒนาการ
       เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม

3. การดำรงชีวิตประจำวัน
      ฝึกช่วยเหลือตนเองให้มาที่สุด

4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
       - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์  เช่น การฝึกพูด  กายภาพบำบัด  กิจกรรมบำบัด
       - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล  ( LEP )
       - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม  เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน
       - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ

การปฏิบัติของบิดามารดา
       - ยอมรับความจริง
       - เด็กกลุ่มอารดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอนเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
       - ให้ความรักและความอบอุ่น
       - การตรวจภายใน  ตรวจหามะเร็งปากมดลูกและเต้านม
       - การคุมกำเนิดและการทำหมัน
       - การสอนเพศศึกษา
       - ตรวจโรคหัวใจ

การส่งเสริมพัฒนาการ
      - พัฒนาทักษะด้านต่างๆ  เช่น  คณิตศาสตร์และภาษา
      - สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
      - สังคมยอมรับมากขึ้น ไปโรงเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
      - ลดปัญหาพฤติกรรม
      - คุณภาพชีวิตดีขึ้น

Autistic
ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว
     - ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูและช่วยเหลือเด็กออทิสติก

ส่งเสริมความสามารถเด็ก
     - การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
     - ทำกิจกรรมที่หลากหลาย

การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
     - เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
     - การให้แรงเสริม

การฝึกพูด
     - โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและสื่อความหมายล่าช้า
     - ถ้าเด็กพูดได้เร็ว โอกาสที่จะพัฒนาการด้านภาษาใกล้เคียงเด็กปกติก็จะเพิ่มมากขึ้น
     - ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
     - ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อสารความต้องการได้
     - การสื่อความหมายทดแทน  ( AAC )

การสื่อความหมายทดแทน  ( Augmentative and Alternative Communication ; AAC )
     - การรับรู้ผ่านการมองเห็น  ( Visual Strategies )
     - โปรแกรมการแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร  ( Picture Exchange Communication System ; PECS )
     - เครื่องโอภา  ( Communication Devices )
     - โปรแกรมปราศัย

การส่งเสริมพัฒนาการ
    - ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
    - เน้นในเรื่องการมองหน้าสบตา  การมีสมาธิ  การฟัง  และทำตามคำสั่ง
    - ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร  สังคม  และการปรับพฤติกรรม

การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
     - เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม  การสื่อการ  และทักษะทางความคิด
     - แผนการจักการศึกษาเฉพาะบุคคล
     - โรงเรียนร่วม  ห้องเรียนคู่ขนาน

ฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
     - ทักษะในชีวิตประจำวันและการฝึกฝนทักษะสังคม
     - ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มความสามารถโดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด

การรักษาด้วยยา
    - Methylphenidate  ( Ritalin )  ช่วยลดอาการไม่นิ่ง / ซน / หุนหันพลันแล่น / ขาดสมาธิ
    - Risperidone / Haloperidol  ช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง  หงุดหงิด  หุนหันพลันแล่น  พฤติกรรมซ้ำๆ  พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
    - ยาในกลุ่ม  Anticonvulsant  ( ยากันชัก )  ใช้ได้ผลในรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง

การบำบัดทางเลือก
   - การสื่อความหมายทดแทน  ( AAC )
   - ศิลปกรรมบำบัด  ( Art Therapy )
   - ดนตรีบำบัด  ( Music Therapy )
   - การฝังเข็ม  ( Acupuncture )
   - การบำบัดด้วยสัตว์  ( Animal Therapy )

พ่อแม่
    - ลูกต้องพัฒนาได้
    - เรารักลูกของเราไม่ว่าเข้าจะเป็นอย่างไร
    - ถ้าเราไม่รักและใครจะรัก
    - หยุดไม่ได้
    - ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง
    - ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
    - ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่13

วันอังคาร  ที่ 28  มกราคม  2557  


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก** สอบกลางภาค**

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 12

วันอังคาร  ที่ 21  มกราคม  2557   

พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
               พัฒนาการ  หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่ โดยทั่วไปพัฒนาการปกติแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ พัฒนาการด้านร่างกาย  พัฒนาการด้านสติปัญญา  พัฒนาการด้านจิตใจ - อารมณ์  พัฒนาการด้านสังคม
               เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ  หมายถึงเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากวาเด็กปกติในวัยเดียวกัน พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านหรือทุกด้าน และพัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลในพัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
   ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
-ปัจจัยทางด้านชีวภาพ  เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรม
-ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด  การติดเชื้อ  สารพิษ  สภาวะทางโภชนาการ
-ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด  การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด
-ปัจจัยทางด้านสภาวะแวดล้อมหลังคลอด  สภาวะหลังคลอด ปัจจัยด้านระบบประสาท และสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมต่อพัฒนาการของเด็ก
    สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. โรคทางพันธุกรรม
2. โรคของระบบประสาท
3. การติดเชื้อ
4. การผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะเกิด
6. สารเคมี
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ  มีพัฒนาการล่าช้าอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
 แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
2. การตรวจร่างกาย
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4. การประเมินพัฒนาการ
  แนวทางในการดูแลรักษา
1. หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการล่าช้า
2. การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
3. การรักษาสาเหตุโดยตรง
4. การส่งเสริมพัฒนาการ
5. ให้คำปรึกษากับครอบครัว
สรุปขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การตรวคิดกรองพัฒนาการ
2. การตรวประเมินพัฒนาการ
3. การให้การวินิจฉัยและสาเหตุ
4. การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
5. การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ
 บริการที่สำคัญสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การตรวจการได้ยิน
2. การให้คำปรึกษาครอบครัว
3. การจัดโปรแกรมการศึกษา
4. บริการทางการแพทย์
5. บริการทางการพยาบาล
6. บริการด้านโภชนาการ
7. บริการด้านจิตวิทยา
8. กายภาพบำบัด
9. กิจกรรมบำบัด
10. อรรถบำบัด
- อาจารย์ให้นักศึกษาทำตามแบบดังต่อไปนี้

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 11

วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเหตุการณ์บ้านเมืองไม่สงบ

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 10

วันที่ มกราคม พ.ศ. 2557


  กลุ่มที่1.  ความบกพร่องทางสมองพิการ
สรุปจากการนำเสนอ
                    สมองพิการ หรือคำย่อที่นิยมเรียก คือ ซี พี (C.P.) ไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะ แต่เป็นคำรวมของกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมอง ซึ่งมีผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงท่าที่ผิดปกติ เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว การทรงท่าในขณะนั่ง ยืน เดิน ผิดปกติหรืออาจเดินไม่ได้
           นอกจากนี้ อาจมีความผิดปกติในการทำงานของสมองด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีความบกพร่องในการมองเห็น ได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา  และโรคลมชัก เป็นต้น


         กลุ่มที่   2.  ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ( LD. )
สรุปจากการนำเสนอ


    เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (L.D)หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐาน ทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา อาจเป็นการพูดและ/หรือภาษาเขียน หรือการคิดคำนวณ รวมทั้งสภาพความบกพร่องในการรับรู้ สมองได้รับบาดเจ็บกาปฏิบัติงานของสมองสูญเสียไป
 สาเหตุ
การได้รับบาดเจ็บทางสมองเนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางได้รับบาดเจ็บไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
กรรมพันธุ์ เนื่องจากงานวิจัยจำนวนมากระบุว่า ถ้าหากพ่อแม่ ญาติ พี่น้องที่ใกล้ชิดเป็นจะมีโอกาส ถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม

สิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การได้รับบาดเจ็บทางสมอง หรือกรรมพันธุ์ เช่น การพัฒนาการช้า เนื่องจากการได้รับสารอาหารไม่ครบ ขาดสารอาหาร มลพิษ การเลี้ยงดู

            3.  โรคสมาธิสั้น
สรุปจากการนำเสนอ

เด็กสมาธิสั้น คือ กลุ่มเด็กเก่ง ไหวพริบและ ไอคิวดีมาก แต่คำว่า สมาธิสั้น
คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดเป็นแง่ลบว่า ปัญญาอ่อน ไม่สามารถจะเรียนอะไรได้เลย
กลับตรงข้าม เป็นเด็กที่มีสมาธิมากเหมือนอยู่ในภวังค์ในเรื่องที่ชอบ สนใจแต่ไม่อาจมีสมาธิได้เลยในเรื่องที่ไม่สนใจ

ลักษณะอาการ 
   
                ไม่อยู่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา แม้ขณะรับประทานอาหาร เช่น นั่งรับประทานอาหารได้เพียงคำเดียวก็ลุกขึ้นวิ่ง มักพูดแทรกและขัดจังหวะคนอื่น เป็นคนอดทนรอไม่ได้ เช่นเวลาเข้าแถว เวลาเล่นของเล่น หรือเกมที่ต้องผลัดกันเล่น เล่นของเล่นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ไม่นาน ไม่สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ ทั้งที่มีความเข้าใจ และสื่อสารได้ปกติ เล่นเสียงดังมากกว่าเด็กคนอื่นไม่ชอบแบ่งปัน ชอบแย่งของจากคนอื่น โดยไม่เข้าใจความรู้สึกของคนที่ถูกแย่ง ดูเหมือนกับมีพลังงานมากมาย ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย             

 -ให้นักศึกษาประเมินเพิ่นที่นำเสนอ  โดยอาจาย์จะแลกใบประเมินให้


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็น วันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 8

วันที่24 ธันวาคม 2556


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นช่วงเวลา "สอบกลางภาค"

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 7

วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556


-ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก อาจารย์ให้อ่านหนังสือสอบ

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 6

วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556


-ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันรัฐธรรมนูญ

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 5

วันที่ ธันวาคม พ.ศ.2556


-ไม่มีการเรียนการสอน

 -อาจารย์ได้มอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มเตรียมตัวนำเสนอเกี่ยวกับ

เด็กพิเศษที่จับฉลากได้  และพร้อมนำเสนอในอาทิตย์

ที่ 17ธันวาคม 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 4

วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2556

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม และ อารมณ์(Children with Behavioral and Emotional Disorders)
-เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้
-เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
-ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างเรียบร้อย
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม และอารมณ์ สามารถ แบ่งออกเป็น 2ประเภท ดังนี้ คือ
-เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์
-เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้
เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้ มักมีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัด  คือ
-วิตกกังวล
-หนีสังคม
-ก้าวร้าว
การจะจัดว่าเด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังนี้
-สภาพแวดล้อม
-ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
ผลกระทบ
-ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
-รักษาความสัมพันธ์ กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
-มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
-มีความคับข้องใจ และมีความเก็บกด อารมณ์
-แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศรีษะ ปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย
-มีความหวาดกลัว

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
-เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
-เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)

เด็กสมาธิสั้น(Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
-เรียกโดยย่อๆว่า ADHD
-เด็กที่ซนอยู่ไม่นิ่ง ซนมากผิดปกติ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
-เด็กบางคนมีปัญหา เรื่องสมาชิกบกพร่อง อาการหุนหันพลันแล่น ขาดความยังยั้งชั่งใจ เด็กเหล่านี้ทางการแพทย์ เรียกว่า Attention Deficit Disorders (ADD)

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม และ อารมณ์
-อุจจาระ ปัสสาวะ รดเสื้อผ้า หรือที่นอน
-ติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
-ดูดนิ้ว กัดเล็บ
-หงอยเหงา เศี้าซึม การหนีสังคม
-เรียกร้องความสนใจ
-อารมณ์หวั่นไหวง่าย ต่อสิ่งเร้า
-อิจฉา ริษยา ก้าวร้าว
-ฝันกลางวัน
-พูดเพ้อเจ้อ

เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้( Children with Learning Disabilities)
-เรียกย่อๆว่า L.D. (Learning Disability)
-เด็กที่มีปัญหา ทางการเรียนรู้เฉพาอย่าง
-เด็กมีปัญหาทางการใช้ภาษา หรือการพูด การเขียน
-ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจาก ความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

-มีปัญหาในทักษะคณิตศาสตร์
-ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
-เล่าเรื่อง/ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
-มีปัญหาด้านการ อ่าน เขียน
-ซุ่มซ่าม
-รับลูกบอลไม่ได้
-ติดกระดุมไม่ได้
-เอาแต่ใจตนเอง

เด็กออทิสติก (Autistic)
-หรือ ออทิซึ่ม(Autism)
-เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมายพฤติกรรม สังคม และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
-เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
-ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต